Wednesday, February 6, 2008

คนพะเยา

สวัสดีทุกๆคน นี่ก็เป็นบทสัมภาษณ์บทแรกที่พวกเราจะนำมาเผยแพร่กันจ้า
สำหรับครั้งนี้เราได้ไปสัมภาษณ์ "เค" หรือ ชื่อเต็มๆก็คือ "นายกวีวัฒน์" นั่นเอง
ว่าแล้วก็อย่าชักช้า ไปอ่านบทสัมภาษณ์ของหนุ่มคนนี้กันเลย!!

สวัสดีจ้า แนะนำตัวเองนิดนึง :
ชื่อหล่อนะ เอ่อ เป็นคนกรุงเทพฯ ความจริงเกิดที่พะเยา นะ จ๊ะ พ่อเราเป็นคนกรุงเทพฯ เป็นคนจีน 100% แล้วแม่ก็เป็นคนพะเยา แล้ว ย่อของแม่ก็มาจากจีนอีกทีนึง แล้วก็ เรา เอ๊ย เราฟังภาษาเหนือได้ แล้วก็แอบฟังภาษาอีสานออก เพราะว่ามันคล้ายๆกัน นะ จ๊ะ

บอกรายละเอียดคร่าวๆเกี่ยวกับภาษาเหนือจ้า :
ภาษาเหนือฟังแล้วมัน จะแบบ เหมือนกับ สุภาพๆอะ แต่พวกที่ไม่สุภาพจะไม่ค่อยพูด ส่วนภาษาอีสานมันจะรู้สึกแบบ ฟังแล้วดูตรงๆ ไม่อ้อมค้อม บางคำฟังแล้วเพราะ อย่างเช่น อีสานแท้ อีสานลาว ประมาณนี้อะ แล้วภาษาเหนือ คำว่า "เจ้า" ที่ได้ยินทางทีวี มันเป็นของผู้หญิง ส่วนชายก็จะพูด "ครับ" เหมือนทั่วไป แล้วมันก็จะมีพยัญชนะต่างจากภาษากลาง เช่น
* ร ในภาษากลาง พอพูดในภาษาเหนือก็จะเป็น ฮ อย่างคำว่า "ไปเรียนกันเถอะ" ก็จะเป็น "ไปเฮียนกันเต๊อะ"
* จาก "ถ" ในภาษากลาง ก็จะเป็นตัว "ต"
* จาก "ช" ก็จะเป็น "จ" เช่นคำว่า "ชาวเหนือ" ก็จะเป็นคำว่า"จาวเหนือ" "เชียงราย" ก็จะเป็นคำว่า "เจียงฮาย"
* แล้วก็แบบ พวกคำว่า "มั๊ย" "ปะ" จะมีคำพิเศษๆพวก "ดีก่อ?" แปลว่า "ดีมั๊ย" ส่วนอีสานก็จะใช้คำว่า "ดีบ่"
* เอ่อ อะไรอีกวะ คำว่า"ใช่มั๊ย" จะเป็น"ใช่ก่อ" หรือ "ก๊ะ"
* "ไว้ใจได้มั๊ย" ก็จะพูดว่า " ไว้ใจได้ก๊ะ"
* "นู่น" (บอกทิศ) จะใช้คำว่า "ปู๊น"

ที่ได้ยินคำพูดที่ว่า "อู้กำเมือง" นี่คืออะไรหรอ? :
กำเมือง ก็คือ ภาษาเหนือที่ใช้ในเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อย่างพะเยานี่ก็มีหลายภาษา ที่หมูบ้านผมก็เป็น "ภาษาลื้อ" คำแปลกๆในภาษาเหนือ ก็เช่น "ลงต๊อง" แปลว่า "ท้องเสีย" ประมาณนี้นะ

ขอบใจมากที่เสียสละเวลามาให้สัมภาษณ์ สุดท้ายนี้อยากฝากอะไรไว้มั๊ย :
ภาษาต่างๆของไทย คำมันฟังไม่ยากหรอก มันต่างกันนิดเดียว มันต้องอาศัยความใกล้ชิดมันถึงจะฟังรู้เรื่อง แค่นี้แหละ หล่อ รักทุกคน ( - -" )