สวัสดีครับ
เป็นครั้งแรกที่ได้ลงมือมาเขียนบล็อกนี้
ตมธรรมเนียมแล้ว ก็จะต้องแนะนำตัวนะครับ แต่ก็ ได้แนะนำไปอย่างคร่าวๆแล้ว ในบทความที่สมาชิกคนอื่นเขียนครับ
แต่ในที่นี้ จะมาแนะนำจุดประสงค์ในการเขียน(ส่วนตัว)ของผมกันนะครับ
เริ่มโดยที่ บล็อกนี้จะเป้นที่รวมแหล่งภาษา
ใช่ครับ ภาษา ที่ทุกคนใช้ทุกวันอยู่นี่แหละครับ
เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องมีการติดต่อสื่อสารกัน เพื่อจุดประสงค์แต่ละอย่างครับ
บางจุดประสงค์ ก็อาจจะใช้ภาษาที่ง่ายๆ ในการติดต่อสื่อสาร อาจจะเห็นได้ทั่วๆไปในชีวิตประจำวันเรา
นั่นก็คือ การพูดคุยเล่นๆ สนุกๆ ในหมู่ผองเพื่อนนั่นเอง
ซึ่งการใช้ภาษาจะเป็นการใช้แบบเรียบๆง่ายๆ ไม่ต้องมีศัพท์ยากๆ และแน่นอนครับ ไม่เป็นทางการ
ส่วนจุดประสงค์อื่นๆ ระดับในการใช้ภาษาก็จะแตกต่างกันไปนะครับ..
ในบ้านเมืองเรา (หรืออาจจะจำกัดขอบเขตมาที่ กรุงเทพ แถบที่เราอาศัยอยู่ก็ได้ครับ)
ก็เมืองไทยไงล่ะ แต่ ภาษาที่ใช้ก็ใช่ว่าจะเป็นภาษาที่เหมือนกันหมดซะทีเดียว
อาจจะมีคนมาจากต่างถิ่น หรือต่างจังหวัด ซึ่งย้ายเข้ามาทำงานบ้างเอย มาเรียนบ้างเอย
ทำให้มีการผสมปนเปกันไปของภาษา
ซึ่งในส่วนของผม จะขอแนะนำในเรื่องภาษาอีสานนะครับ
ซึ่งแต่ละคน อาจจะรู้ว่า ภาคอีสานน่ะมีจำนวนคนย้ายเข้ามาทำงานกันเยอะแยะ
ซึ่งภาษาที่คนอีสานส่วนใหญ่ใช้ก็จะเป็นภาษาที่อาจจะแปลกหูบ้างสำหรับคนภาคกลาง
แต่อบ่างน้อย บางคำเมื่อได้ฟังแล้วก็จะเข้าใจเองครับ
คนอีสาน สามารถพบได้ทั่วๆไป เรียกได้ว่าเกือบทุกที่แหละครับ
หลายคนอาจจะเคยซื้อพวกกับข้าว ตามรถที่มาตั้งขายตามริมทางเดินเท้า
โดยเฉพาะพวกส้มตำเนี่ย (อยากจะบอกว่าคนอีสานฝีมือสุดยอดมาก ฮา)
คุณอาจจะได้ยินการถามว่าจะเอาอะไรเป็นภาษาอีสานมา
แต่เท่าที่ได้สังเกตมาแล้ว คนภาคกลางก็ไม่เคยที่จะต้องการล่ามมาแปลให้เป็นภาษากลางอีกที
คาดว่า น่าจะใช้การเดาประโยค หรือไม่ก็ เคยได้รู้ภาษามาก่อน (เช่นการดูละครทั่วๆไป บางเรื่องก็จะมีตัวละคร ที่พูดภาษาอีสานอยู่ด้วย ซึ่งภาษาอีสานที่อยู่ในละคร มันก็เอ่อ อีสานบ้าง กลางบ้าง ปนๆกันไป นานๆทีจะมีแบบว่าพูดอีสานมาตลอด - -)
เมื่อพูดถึงจำนวนคนอีสานที่มาอยู่ในกรุงเทพกันแล้ว
ก็จะเห็นว่ามีจำนวนมาก แล้วก็ต้องมีผลต่อชีวิตประจำวันเราบ้างแหล่ะน่า (ไม่ใช่ด้านไม่ดีนะ)
เรื่องภาษา มีเริ่มมีบทบาทเข้ามา ถึงแม้มันจะไม่นิยมใช้มากก็เถอะ
แต่อย่างน้อย รู้ไว้ก็ไม่ถึงกับเสียหายนะ
ในที่นี้จะขอแนะนำสักเล็กน้อย เกี่ยวกับภาษาอีสาน
เริ่มที่ สรรพนาม แต่ละบุรุษกันดีกว่า
บุรุษที่ 1 ตัวแทนผู้พูด
ข่อย แปลว่า ตัวฉัน / ตัวผม เช่น ข่อยอยากกินส้มตำ แปลว่า ผม/ฉัน อยากกินส้มตำ
** อาจจะมีเยอะกว่านี้ แต่ผู้เขียนไม่ได้นำมาหมด (รู้น้อยนั่นเอง)
บุรุษที่ 2 ผู้ที่พูดด้วย
อันนี้น่าจะใช้คล้ายๆกับภาคคกลาง และอาจจะมีภาษาสมัยพ่อขุนรามฯมาด้วย
ส่วนถ้าพูดกับกลุ่มคนมากๆ ก็
สู จะใช้แทนกลุ่มบุคคลที่มาก เช่น สูสิ(จะ)ไปไส(ไหน) แปลว่า พวกคุณกำลังจะไปไหน
เพิ่น ใช้เวลาจะใช้แทนตัวผู้พูด เช่น ถามผู้พูดว่าชื่ออะไร ก็ถามว่า เพิ่นชื่ออะไร
บุรุษที่ 3 ผู้ที่ถูกกล่าวถึง
แทบจะเหมือนกับกลางเลย
กลุ่ม คำถามต่างๆ
คึ แปลว่า ทำไม เช่น คึพูดอย่างงั้น แปลว่า ทำไมถึงพูดอย่างงั้น
ไส แปลว่า ไหน (ใช้กับสถานที่)
หยัง แปลว่า อะไร (ส่วนมากจะใช้คำว่า อี เติมเข้าไปข้างหน้าด้วย (ขออภัยหากภาษากลางมันหยาบ))
บ่ แปลว่า หรือยัง (อาจจะขึ้นอยู่กับประโยคที่ใช้ด้วย) เช่น กินข้าวมาแล้วบ่ แปลว่า กินข้าวมารึยัง
ได๋ แปลว่า ไหน (จะใช้เกี่ยวกับเวลา) เช่น จะมาที่นี่ตอนได๋ แปลว่า จะมาที่นี่ตอนไหน
กลุ่ม คำตอบรับต่างๆ
เบาะ แปลว่า เหรอ มักจะใช้ลงท้ายประโยคเสมอ เพื่อถามคนพูดกับเราให้แน่ใจยิ่งขึ้น เช่น จริงเบาะ แปลว่า จริงเหรอ
ดอก แปลว่า หรอก (ต้องดูประโยคด้วย) เช่น ไม่เป็นอะไรดอก แปลว่าไม่เป้นอะไรหรอก
จั๊ก แปลว่า ไม่รู้
นอกนั้น ก็จะใช้คล้ายๆภาษากลาง
คำที่พบเห็นได้ทั่วๆไป
บ่ แปลว่าไม่ (ชักไม่แน่ใจว่ามันเป็นภาษาอีสานรึเปล่า)
โลด แปลว่า เลย (ไม่ใช่เลยเถิด เลยไปไกล อะไรแแบบนั้น (ที่เกี่ยวกับระยยะทางน่ะ)) เช่น ทำโลด ก็แปลว่าทำเลย
เฮ็ด แปลว่า ทำ (ทำหลายอย่างเลยแหละ เติมคำอื่นลงไป ความหมายอาจจะเปลี่ยนไปเลยก็ได้)
เอ๊อะ เป้นคำอุทาน เวลาโดนใครทำให้เจ็บ (ไม่ค่อยเห้นใช้กับเรื่องเกี่ยวกับพวกเจ็บใจเท่าไร) เอาไว้จับผิดคนที่มาจากอีสานได้ดี 5555+ ใครอุทานคำนี้ออกมา ทำนายไว่เลย อีสานแน่
ฮ่วย เป้นคำอุทาน อาจจะแปลว่า โอ้ย (ที่ไม่รวมถึงการได้รับความเจ็บ) คำนี้อยู่ที่ความรู้สึกละกัน
กะซ่าง แปลว่าก็ช่าง (ช ช้างเป้น ซ โซ่น่ะ ง่ายๆ)
ซัมนิ แปลว่า เท่านี้ (คล้ายๆคำว่า กะลา แปลว่า เท่านี้ เหมือนกัน) เช่น มีซัมนิแหละ แปลว่ามีเท่านี้แหละ
สิ แปลว่า จะ (will อะ)
เดะ แปลว่า นี่ไง คล้ายๆกับคำขยาย เช่น นี่แดะ แปลว่านี่ไง โน่นเดะ แปลว่า โน่นไง แต่เวลารวมกับคำอื่นความหมายอาจจะเปลี่ยนได้ เช่น บ่เดะ มันไม่ใช่นะ
คึด แปลว่า คิด (เปลี่ยนสระอิ เป้น สระอึ)
ฮอด แปลว่า ถึง
เอาสองคำมารวมกันได้ว่า คึดฮอด แปลว่า คิดถึง 5555
เว้า แปลว่า พูด (ส่วนใหญ่จะพูดออกมาเป้น เว่า นะ)
หลาย แปลว่า มาก (เอ๊ะ ภาษากลางนี่ - -)
จั่งสั้น แปลว่า อย่างงั้น เช่น เช่น คึพูดจั่งสั้น แปลว่า ทำไมถึงพูดแบบนี้
แหม่น แปลว่า ใช่
พอเท่านี้แล้ว เพราะถ้าจะเอามาอีก มันจะเยอะเกินไป
และคำบางคำมันก็มีหลายความหมายด้วย ถ้าเอามารวมกับคำอื่น
ที่รวมๆมานี่ น่าจะเจอกันมาอย่างน้อยก็ 6 คำขึ้นแล้วนะ
ส่วนเรื่องใครจะแปลทั้งประโยคได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า เขาจะพูดมาในอารมณ์ หรือท่าทางแบบไหน รวมทั้งดูประโยคด้วย 555+ ไม่งั้น แปลผิด ก็ความหมายเปลี่ยนน่ะสิ - - แหม๊ (ไม่น่าให้บอกเลย)
มีอะไรสงสัย ทิ้งคำถามไว้ได้ที่คอมเม้นท์ แล้วถ้าตอบได้จะพยายามตอบครับ
(เพราะไม่ได้ใช้มาเกือบปปีแล้ว น่าจะลืมๆไปแล้วบ้าง 555+)
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
6 comments:
อืม นิว
เค้าไม่มีอะไรจะขัดเกลาหรอกเว่ยย ถามผิดคนแล้ว~
(เค้ารู้ภาษาอีสานน้อยกว่าแกอีก) ลองถามอารตรองกับพลอยสิ ท่าทางช่ำชอง เหอๆๆ
ก็เท่าที่ดูแล้ว ก็โอเคหมดนี่นะ เออ
สรรพนามบุรุษที่ 2 ลืมคำว่า 'เจ้า' ไปป่ะ คิดว่าน่าจะใช่แอ่ะนะ อืมมม...
บ่เป็นหยังดอกสู ซัมนี่ก็ดีกะด้อกะเดื้อแล่ววว
(สำเนียงแปร่งอย่างแรงว่ะเรา กร๊ากกกก ไปละ)
เม้นอันนี้และกันน้า
คือแบบมันอยู่อันแรกอ่ะ
เราว่าหัวข้อเป็นอะไรที่สร้างสรรค์มากอ่ะ
คือได้รับความรู้จากบล็อกนี้อย่างแน่นอน
แต่อยากให้มีภาษาใต้ด้วยอ่ะ 55
ล้อเล่นอ่านะ แต่ถ้าทำได้คงดี
ยังไงก็อัพต่อไปเรื่อยๆแล้วกันนะ
สู้ๆนะทุกคน 55
Bye
P.S.แล้วจะเข้ามาเยี่ยมบ่อยๆ
รู้หลายอย่างเลย .......
เม้นแล้วน้า
คือแบบ ไม่รู้จะเม้นไรอ่า 555
ทำต่อปายละกานนนน
ตั้งใจเข้ามาอ่าน...ขอขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องภาษา...เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง...เห็นมีทีมงานเข้มแข็งร่วมมือกันดี...บล็อกนี้เจริญก้าวหน้าแน่นอน
จำได้ว่าตอนที่ถูกเรียกออกไปภาคเหนืองาอายมั่กมาก
เเกง่า เเบบ ไม่น่าสบตาไอ้อีฟมันเลย
เเล้วดันออกไปพูดภาษาอิสานอีก ปาด ด ด!!
หน้าเเตก ก็ได้รุ ภาษาที่ถูกจริงมากขึ้นเเละล่ะ
ค่อยดูคราวหน้าเถอะ ฮะๆ >..< คิดถึงๆ เพื่อน น้า
Post a Comment